Last updated: 15 มิ.ย. 2564 | 2678 จำนวนผู้เข้าชม |
ภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงคืออะไร?
กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง(Ptosis) คือภาวะกล้ามเนื้อตาทำงานไม่เต็มที่ ทำภาวะหนังตาตก ตาปรือเกิดจากการยืดของกล้ามเนื้อตา ทำให้กล้ามเนื้อตาไม่แข็งแรง ไม่สามารถพยุงหนังตาชั้นตาของเราได้ การลืมตากระพริบตาแต่ละครั้งต้องมีการประสานงานกับ 3 ส่วนด้วยกัน ระหว่าง เปลือกตา เส้นประสาทและกล้ามเนื้อตา
สาเหตุของการเกิดกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง
1.กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงแต่กำเนิด(Congenital ptosis)
อาการตาปรือมาตั้งแต่เด็ก หากไม่ได้รับการรักษาอาการจะเป็นมากขึ้นตามอายุที่มากขึ้น เนื่องจากดวงตาปรือมาตั้งแต่เด็กทำให้มีปัญหาทางสายตาร่วมด้วย ถ้าไม่ได้รับการรักษา การมองเห็นจะไม่ชัด เกิดภาวะตาขี้เกียจได้ (Lazy eye) ทำให้เกิดตาเหล่ตาเข Amblyopia
2.เกิดการระคายเคืองต่อกล้ามเนื้อตาเป็นเวลานานๆ
เกิดเป็นกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงสาเหตุเกิดจากการใช้ชีวิตทำให้กล้ามเนื้อตาโดนยืดขยาย ทั้งการขยี้ตาแรงๆบ่อยๆ ใช้คอนแท็คเลนส์ เกิดการบาดเจ็บต่อกล้ามเนื้อตา ใช้สายตาหน้าจอ TV จอคอมพิวเตอร์เป็นระยะเวลานาน นอนดึก ฯลฯ
3.กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง จากสารสื่อประสาทที่หลังผิดปกติโรค MG (myasthenia gravis)
เกิดจากความผิดปกติในการสื่อสารระหว่างเส้นประสาทและกล้ามเนื้อ ในตำแหน่งที่เรียกว่า nerve-muscular junction ร่างกายจะทำการผลิตภูมิคุ้มกันซึ่งจะไปขัดขวางการจับหรือทำลายตัวรับสารที่เรียกว่า acetylcholine ที่กล้ามเนื้อ ทำให้กล้ามเนื้อได้รับสัญญาณจากเส้นประสาทลดลงและกลายเป็นอ่อนแรง เกิดได้ทุกกล้ามเนื้อในร่างกาย แต่ที่มักเป็นปัญหาคือ กล้ามเนื้อตา วิธีรักษา "กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง"
การรักษาภาวะนี้ต้องผ่าตัดรักษาเท่านั้นกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ การผ่าตัดจะใช้วิธีเย็บตรึงกล้ามเนื้อตาด้วยความตึงแตกต่างกันในแต่ละข้างเพราะส่วนใหญ่แล้วกล้ามเนื้อตาจะหย่อนคล้อยไม่เท่ากัน ถ้าแพทย์เย็บด้วยความตึงเท่ากันจะทำให้ชั้นตาไม่เท่ากันอยู่ดี วิธีการผ่าตัดมีมากมายหลายวิธี แต่ส่วนสำคัญที่สุดคือ การจัดการกับ กล้ามเนื้อ"รีเวเตอร์" Levator ที่อยู่ลึกเข้าไปในชั้นหนังตา โดยแพทย์จะไปทำการเลาะชั้นกล้ามเนื้อตานี้ออก เย็บให้แข็งแรง หรือผ่าตัดตกแต่งเพิ่มเติม ขึ้นอยู่กับอาการที่แตกต่างกันในแต่ละราย
15 มิ.ย. 2564
24 ธ.ค. 2564
12 พ.ย. 2564